พฤษภาทมิฬ

พฤษภาทมิฬ (BLACK MAY)

พฤษภาทมิฬ ( Black May ) เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงอํานาจเผด็จการโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่นําไปสู่เหตุการณ์นองเลือดบนท้องถนน และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
          เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอํานาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น  โดยให้เหตุผลหลักว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทําลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอํานาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
          หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสําเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มี.ค. พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จํานวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนําจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ตแท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
        




ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งนําไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตน และ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล จะไม่รับตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่กลับกลับคําพูดและรับตําแหน่งรัฐมนตรี
          เหตุการณ์นี้ เป็นที่มาของวลีที่ว่า " เสียสัตย์เพื่อชาติ "  การรับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นําไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) และนําไปสู่เหตุการณ์นองเลือด พฤษภาทมิฬ ในที่สุด



ชนวนเหตุ
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจคณะ รสช. ได้เลือก นาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร และมีการเตรียมเสนอ นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะหัวหน้าพรรค ที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ตแท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุดจึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้



พรรคเทพ พรรคมาร
พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือ พรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส “นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง” เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ 
พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง)
พรรคประชาธิปัตย์   (44 เสียง)
พรรคพลังธรรม       (41 เสียง)
พรรคเอกภาพ           (6 เสียง) 
ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ 
พรรคสามัคคีธรรม   (79 เสียง)
พรรคชาติไทย        (74 เสียง)
พรรคกิจสังคม        (31 เสียง)
พรรคประชากรไทย   (7 เสียง)
พรรคราษฎร             (4 เสียง) 


ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

การต่อต้านของประชาชน
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีก ด้วย การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่างๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น)  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มี นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเอกภาพ พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหาร เข้ามารักษาการใน กทม. และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใน บริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

กระทั่ง ในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชน จากสนามหลวง ไปยังถนนราชดำเนินกลาง เพื่อไปยัง หน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งจากนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 18พฤษภาคม รัฐบาลได้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร และ ให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุม ในบริเวณถนนราชดำเนิน จากนั้นจึงเข้าสลาย การชุมนุมในเข้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
ก่อนเที่ยงวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 ทหารได้ควบคุมตัว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่อง ยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่างๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีกเจ็ดคน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, น.พ. เหวง โตจิราการ, น.พ. สันต์ หัตถีรัตน์,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, น.ส.จิตราวดี วรฉัตร และ นายวีระ มุสิกพงศ์ และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุด และเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน
19 พฤษภาคม 2535 เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้ พล.อ. สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบ และไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบ เพื่อต่อต้านรัฐบาลโดย กลุ่มจักรยานยนต์ หลายพื้นที่ใน กรุงเทพมหานคร
วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชน เอกชนในประเทศ



แผนไพรีพินาศ 

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวาง กองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ.2527 และ พ.ศ.2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 
1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึง
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อ
เท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อ
ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจ ไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์
ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก
กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว


กระแสพระราชดำรัส 

หลังจากเหตุโศกนาฏกรรมได้ผ่านไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้เชิญ พลเอก สุจินดา คราประยูร และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ให้เข้าเฝ้า ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. และได้มีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานแก่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง 
“ ขอให้ท่าน โดยเฉพาะสองท่าน พลเอก สุจินดา และพลตรี จำลอง ช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้า
หากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็น
ประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากัน แก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ที่เวลาเกิดจะใช้
คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรง มันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะ
แก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะแล้ว ก็ใครจะชนะไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้นมีแต่แพ้คือ
ต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชน
ทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะใน กรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่าเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
เสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่
บนกองซากปรักหักพัง ” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  หลังจากนั้นพลเอกสุจินดาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพลางไปก่อน 

ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 - คณะ รสช.ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
22 มีนาคม พ.ศ.2535 - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับ
เลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
   7 เมษายน   - พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  8 เมษายน   - ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
 17 เมษายน มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
   4 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารและน้ำประท้วงวันแรก
   6 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกัน
บริเวณหน้ารัฐสภา มีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกระทันหัน
   8 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
   9 พฤษภาคม - นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไข รัฐธรรมนูญบางประการ และ พล.ต.จำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร แต่ต่อมาพรรคร่วมรัฐบาลได้ปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภายหลัง
11 พฤษภาคม - พล.ต.จำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้ง
ในวันที่ 17 พฤษภาคม
17 พฤษภาคม -  รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขน
รถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร ต่อเนื่องถึง
เช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่าย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
24 พฤษภาคม - พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่ง
ประเทศไทย และ พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
10 มิถุนายน   - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร
และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
 13 กันยายน   - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ปรากฏการณ์ที่สำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยประกอบด้วยชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากกรณี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ทั้งนี้เนื่องจากสองทศวรรษที่ผ่านมา
เศรษฐกิจและสังคมไทยได้พัฒนาไปมาก ทำให้ชนชั้นกลางที่เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ เห็นเด่นชัดขึ้นผู้ร่วมชุมชุมหลายคนมีโทรศัพท์มือถือ ขับรถเก๋งส่วนตัวไปร่วมชุมนุมและมีเป็นจำนวนมากที่มีกิจการเป็นของตนเองจากการสำรวจของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยใช้ผลสำรวจ ๒,๐๐๐ จุดพบข้อมูลที่น่าสนใจคือ
อายุของผู้ชุมนุม
๒๐-๒๙ ปี ๓๙.๔ %
๓๐-๓๙ ปี ๓๖.๕%
๔๐-๔๙ ปี ๑๔.๒%
๕๐ ปีขึ้นไป ๖.๗%
อาชีพของผู้ชุมชุม
เจ้าของกิจการ ๑๓.๗%
เอกชน ๔๕.๗%
ราชการ ๑๔.๘%
รัฐวิสาหกิจ ๖.๒%

รายได้ของผู้ชุมนุม
รายได้ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท ๑๔.๑%
,๐๐๐-๙,๙๐๐ บาท ๒๘.๕%
๑๐,๐๐๐-๑๙,๙๙๙ บาท ๓๐%
๒๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท ๑๕.๕
สูงกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท ๖.๒%

จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลดังกล่าว ผู้ร่วมชุมชุมเป็นชนชั้นกลางของสังคมมีจำนวนมาก ระดับและจำนวนของชนชั้นกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในแง่อายุ อาชีพ และรายได้ กล่าวได้ว่าเป็นความแตกต่างในแง่คุณภาพ ไม่ใช่เพียงปริมาณ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยประสพความสำเร็จ โดยที่ฝ่ายรัฐบาลซึ่งแม้จะมีกำลังทหารหนุนหลัง ก็ไม่สามารถปราบปรามประชาชนได้นั้นไม่ได้เกิดจากสภาพการขยายตัวของชนชั้นกลางเพียงอย่างเดียว หากเกิดจากตัวแปราต่างๆ หลายอย่างด้วยกันคือ
๑.แนวโน้มของโลกปัจจุบันคือการมีระบบการเมืองแบบเปิด และเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ กระแสแห่งประชาธิปไตยดังกล่าวแผ่กระจายไปทั่วโลก แม้กระทั่งสหภาพโซเวียตก็หนีไม่พ้น
๒.ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนมีมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การศึกษา สื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
๓.เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นประวัติศาสตร์ที่คอยกระตุ้นเตือน ความทรงจำถึงการต่อสู้และการเสียสละ วิญญาณเสรีชนดังกล่าวมีการสืบทอดมาโดยความทรงจำ การศึกษาและการปลุกเร้า
๔.เศรษฐกิจไทยไม่ใช่เศรษฐกิจการเกษตรเป็นหลักอีกต่อไป แต่เป็นเศรษฐกิจผสมมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและกายภาพ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองมีสูง การใช้อำนาจเผด็จการแบบสังคมเกษตรจึงไร้ผล
๕.เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ปฏิบัติการของผู้อยู่ในอำนาจล้าสมัย การส่งโทรสาร การับข่าวสารจากต่างประเทศล้วนแต่ทำให้การปิดข่าวสารและการบิดเบือนเป็นไปได้ยาก
๖.การต่อต้านนายกรัฐมนตรีเกิดจากการที่นายกรัฐมนตรีผิดคำสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชนตอนที่เรียกร้องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง แต่ก็มาเสียคำพูดเท่ากับเป็นการหลอกลวงประชาชน นอกจากนั้นท่าทีแข็งกร้าวและเชื่อมั่นในอำนาจเท่ากับเป้ฯการยั่วยุยิ่งขึ้น นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรียังเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหารและการสืบทอดอำนาจ ทำให้เกิดความเคืองแค้นให้หมู่ประชาชน
๗.การประเมินพลังประชาชนต่ำและเข้าใจว่าเป็นมวลชนจัดตั้งของฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว บนฐานของการประเมินดังกล่าว จึงคาดว่าถ้ามีการกวาดล้างด้วยกำลังประชาชนผู้ประท้วงจะาสมัย ไม่ทันเหตุการณ์โลกเป็นวุฒิภาวะของคนรุ่นเก่าที่ไม่ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้มองภาพผิด ตีความข้อมูลผิด รับฟังแต่ข้อมูลของผู้สอพลอ จึงนำไปสู่ปัญหาวิกฤต ผลสุดท้ายคือการทำลายตนเอแตกกระเจิงเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่การณ์กลับตรงกันข้าม
๘.วิกฤติแห่งความน่าเชื่อถือ การตระบัดสัตย์โดยอ้างว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทำให้คำพูดทุกคำพูดของท่านนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาล สื่อมวลชนของรัฐ ขาดความน่าเชื่อถือ
๙.ความเชื่อแบบเก่าที่ว่าอำนาจบริสุทธิ์สามารถสยบได้ทุกอย่างเป็นความเชื่อที่ล้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น